หน้าแรก

หน้าแรก      ผู้ดูแลเว็บ    ติดต่อเรา 

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ศึกษาพระคัมภีร์ หัวข้อ วิธีบริหารเงินทอง


ศึกษาพระคัมภีร์ หัวข้อ  วิธีบริหารเงินทอง            
  พระธรรม   ฉธบ 8.11-20     โดย อ.เรวัฒน์ เทพจักร์
www.Thaichristians.net  email: info@thaichristians.net


บทนำ   พระเจ้าทรงประทานเงินทองเพื่อเรา ไม่ว่าจะโดยผ่านการทำงานอะไร หรือมีทุนสะสม  หรือมีผู้สนับสนุนเป็นประจำ  เงินทองอยู่ในอำนาจของเรา ในการบริหารและจัดการ  คนที่รู้จักจัดการ และบริหารเงินทองดี ก็ได้รับพระพร หากจัดสรรไม่ถูกก็จะเป็นภัย   เป็นทุกข์แก่ตนเอง   และคนใกล้ชิด

กฎ 7 ประการกับการจัดงบส่วนตัว

หนึ่ง  เราต้อง  แยก   รายรับส่วนหนึ่งไว้เพื่อ   ถวายพระเจ้า

-เป็นการประกาศยอมรับว่า เงินทองเป็นของพระเจ้า  ฮักกัย 2.8
-เราควรตั้งเป้าหมายไม่ยักยอกฉ้อโกง  พระเจ้า     และ ของๆผู้ใด  มาลาค 3.8  ยอห์น 12.6

สอง  เราต้อง  แบ่ง  รายได้ส่วนหนึ่งเพื่อ       จ่ายให้แก่ รัฐบาล   (ภาษี)
-เป็นการประกาศการเป็นพลเมือง โดยการเสียภาษี และไม่ค้าขายของหนีภาษี  มัทธิว 22.21
-เราพยายามไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น  2ธส 3.8
-ตั้งใจหางานทำอาชีพสุจริตที่พระเจ้ายอมรับเท่านั้น  ยอห์น 2.15-16  อสค 22.12

สาม  เราต้อง   จัดสรร  รายได้ส่วนหนึ่งเพื่อ   ความจำเป็นของครอบครัว
-เป็นการประกาศความรับผิดชอบต่อครัวเรือน   1ทธ 5.8
-อย่าสร้างนิสัยเป็นคนเห็นเงิน  โลภอย่างได้ อยากมี    ฮร 13.5

สี เราต้อง  ตัด  รายรับส่วนหนึ่งเพื่อ   หนี้สิน
-เราไม่ควรกู้หนี้ยืมสิน เพราะทำให้เราตกเป็นทาส  สุภาษิต 22.7
-เราต้องรีบชดใช้ ชำระหนี้สินให้หมดโดยเร็วที่สุด   สดุดี 37.21

ห้า เราต้อง   จัดเตรียม  ส่วนหนึ่งเพื่อตอบสนองความจำเป็นของ  ผู้อื่น
-เป็นการประกาศ / สำแดงความรัก และถวายเกียรติ  2 คร 11.7
-เพื่อช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ผู้มีปัญหา  โรม 15.26

หก   เราต้อง    สำรองทุน  ส่วนหนึ่งของรายได้ของเราไว้เป็นทุนสำหรับ  ฉุกเฉิน ของชีวิต
-เป็นการประกาศความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน   สภษ 6.6-9
เช่น  ยามเจ็บป่วย  อุบัติเหตุ    เรียนต่อ  เพื่อที่อยู่อาศัย

เจ็ด  หากยังมีเงินเหลืออยู่  เราก็อาจจะใช้เพื่อเป็น  รางวัลชีวิต
-เป็นการประกาศการเฉลิมฉลอง ด้วยความขอบคุณพระเจ้า  เอสรา 7.18

สรุป  ให้เราตั้งเป้าว่าไม่ว่าจะมีมากหรือมีน้อย อย่าง ลก 21.4  และหากไม่มีจริงๆจงเป็นคน สัตย์ซื่อ  ในเรื่องเงินและหน้าที่ความรับผิดชอบของตน  กจ 3.6  เพราะถ้าเราสัตย์ซื่อในการจัดการเรื่องเงินทอง    เราจะได้รับการไว้วางใจจากพระเจ้า  และผู้อื่น  มธ 25.21 และ ข้อ 23,29 จงเป็นคนมีชื่อเสียงดีโดยเฉพาะเรื่องเงินทอง    สภษ 22.1
จงตั้งมาตรฐานขั้นต่ำไว้ว่า
-จะสัตย์ซื่อต่อพระเจ้าในเรื่องเงิน  เวลา 
-ตั้งเป้าว่าจะจัดการกับระแบบการเงินใหม่อย่างถูกต้อง   จะไม่พยายามกู้หนี้ยมสินมาอีก  โรม13   จะไม่พยายามให้
ใครยืมเงิน  แต่ถ้าจะช่วยเหลือจะให้เปล่าๆ ไม่คิดดอกเบี้ย    และจะให้ผ่านคริสตจักรเท่านั้น จะไม่ให้โดยตรง

การแบ่งเงินเป็นกองๆ
หันมาสร้างอิสรภาพทางการเงินกันดีกว่า ต้องคิดว่าในบั้นปลายของชีวิตเราต้องใช้ชีวิตอยู่คนเดียว ฉะนั้นเราควรจะคิดเตรียมเอาไว้ ยิ่งอยู่ตัวคนเดียว ยิ่งมีเวลามากกว่าคนมีครอบครัว ถ้าใช้เวลาไม่ถูกก็จะฟุ้งซ่านเปล่าๆ ใช้ชีวิตไม่ระมัดระวัง ใช้ชีวิตแบบประมาท กลายเป็นสร้างภาระเข้าไปอีก หนี้สินอาจจะเกิดได้'
การแบ่งเงินสำหรับคนแบ่งเงินเป็น 4 กอง   
โสด
       - เงินก้อนที่ 
1  ถวายสิบลดแด่พระเจ้า    10 %
       - เงินก้อนที่  
2  ใช้จ่ายในปัจจุบัน      ควรจะจัดสรร 50  % ของรายได้ในแต่ละเดือน
       - เงินก้อนที่  
3   คือเงินที่เตรียมไว้สำหรับสถานการณ์ 'ฉุกเฉิน' ที่ควรจะเตรียมไว้ 10 % ของรายได้ในแต่ละเดือน
       - เงินก้อนที่  
4  เงินที่เตรียมไว้สำหรับ 'อนาคต 30 % คือ   
มีครอบครัว
       - เงินก้อนที่  1  ถวายสิบลดแด่พระเจ้า    10 %
       - เงินก้อนที่  
2  ใช้จ่ายในปัจจุบัน      ควรจะจัดสรร 50 % ของรายได้ในแต่ละเดือน
       - เงินก้อนที่  
3   คือเงินที่เตรียมไว้สำหรับสถานการณ์ 'ฉุกเฉิน' ที่ควรจะเตรียมไว้ 25% ของรายได้ในแต่ละเดือน
       - เงินก้อนที่  
4  เงินที่เตรียมไว้สำหรับ 'อนาคต15 % คือ   

คนที่ตั้งใจจะครองโสดในอนาคตคงไม่มีใครดูแลเรา เพราะฉะนั้นเราต้องเตรียมแผนการเงินไว้รองรับอย่างดี แต่สูตรที่บอกนี้ ไม่ใช่ว่าเหมาะกับทุกคน เพราะแต่ละคนมีภาระ และการใช้จ่ายที่ไม่เหมือนกัน เงินที่เตรียมไว้สำหรับอนาคตนั้น ถ้าใครที่มีภาระต้องใช้จ่ายเยอะก็อาจจะลดตรงส่วนนี้ลง             แต่แน่นอนว่าสูตรนี้อาจไม่เหมาะสำหรับคนที่มีครอบครัว เพราะอาจจะมีภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนมากกว่า นั่นก็อาจทำให้ต้องออมเพื่ออนาคตให้น้อยลง'

ออม-ลงทุนระยะยาวเพื่ออนาคต บนสมมติฐานที่ว่าในบั้นปลายของชีวิต คุณอาจจะต้องใช้ชีวิตเพียงลำพัง ไม่มีลูกหลานคอยดูแลเหมือนคนที่มีครอบครัว อัจฉราแนะว่าในแง่ของการออม และลงทุนจึงต้องมองหาช่องทางการลงทุนระยะยาวไว้เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินผ่านประกัน ลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาว
'ต้องนึกไว้เสมอว่าไม่มีใครดูแลเรา เพราะฉะนั้นในแง่ของการลงทุนเราอาจจะต้องเน้นลงทุนระยะยาว ซื้อทั้งประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันทรัพย์สิน ขณะเดียวกันถ้าเป็นการลงทุนก็ควรจะเน้นลงทุนระยะยาว แต่มีส่วนหนึ่งฝากแบงก์ติดไว้บ้าง หรือไม่ก็ลงทุนในสลากออมสินระยะ 5-10 ปีไว้สักนิด'

นกน้อยทำรังแต่พอตัว หากเป็นคนมีครอบครัวจะสร้างบ้านใหญ่โตแค่ไหน ก็มีคนช่วยผ่อนช่วยจ่าย แต่หากเป็นคนโสดควรวิเคราะห์ และรู้จักตัวเองให้มากที่สุด เมื่อรักที่จะครองโสดก็ไม่จำเป็นต้องสร้างหรือเลือกบ้านให้ใหญ่โตมากนัก      

ตัวเลขเศรษฐกิจของไทยเมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อหลักเฉพาะเดือน ส.ค. ปรับขึ้นสูงสุดในรอบ
7 ปี อยู่ที่ระดับ 5.6% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค.ซึ่งอยู่ที่ระดับ 5.3% โดยตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาสินค้ากลุ่มอาหารกับราคาน้ำมันปรับขึ้น

                                     การบริหารเงินออมคืออะไร
คือการจัดสรรรายได้มาเพื่อเป็นเงินออม และนำเงินออมเหล่านั้นมาสร้างผลตอบแทนให้กับตนเอง
อีกทั้งยังเป็นหลักประกันให้กับอนาคตขอบตนเองและครอบครัว เช่น อาจใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล
หรือเป็นทุนการศึกษา และหากมีการจัดสรรเงินออมได้อย่างเหมาะสมแล้ว
เงินออมเหล่านั้นจะสามารถเพิ่มผลตอบแทนได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น การฝากเงินกับธนาคาร
การทำประกันชีวิต ตลอดจนการลงทุนในกองทุนรวมต่าง ๆ

                                                   7 วิธีมีเงินออม
1. กำหนดเป้าหมายการเก็บออม
    ( แต่ละเดือน แต่ละปี จะมีเงินออมเท่าไร)
2
. กำหนดเป้าหมายการใช้จ่าย
    ( แต่ละวัน แต่ละเดือนจะมีเงินเท่าไร เมื่อไรต้องใช้เงินก้อนใหญ่)
3
. ประหยัดรายจ่าย
   (จ่ายน้อยกว่าหรือเท่ากับเป้าหมายการใช้จ่ายที่ตั้งไว้ เพื่อให้มีเงินเหลือมากขึ้น)
4
. จ่ายคุ้มค่า
    (จ่ายเท่าเดิมแต่ได้ประโยชน์มากขึ้น)
5
. ใช้เท่าที่จำเป็น
     (น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ)
6
. พึงระวังค่าใช้จ่ายที่มักจะนึกไม่ถึง
     ( ค่าธรรมเนียมรายเดือน รายปี ค่าภาษี ค่าดอกเบี้ยบัตรเครดิต ค่าปรับจ่ายหนี้ช้า)
7
. ไม่ก่อหนี้โดยไม่จำเป็นและเกินกำลัง


                                          5 ข้อก่อร่าง  สร้างตัว
1. วางแผนให้ดี ทำบัญชีเป็นนิจ     
ก่อนจะใช้จ่ายแต่ละเดือน ควรมีการวางแผนไว้ให้ดี เช่น
ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะได้รู้ว่าเงินหมดไปกับอะไรบ้าง พร้อมทั้งฝึกจดจำและทำบัญชีให้เป็นนิสัย เพราะจะช่วยให้เราตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้
2. ต้องมีวินัย จิตใจเด็ดเดี่ยว     
เมื่อคิดจะตั้งตัวก็ควรตั้งใจให้มั่น เช่น กำหนดไปเลยว่าจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้เพื่อเป็นเงินออมทุกเดือน ก็ควรทำให้ได้ทุกเดือน และต้องมีใจเด็ดเดี่ยวไม่เผลอไผลไปกับสิ่งฟุ้มเฟือย เมื่อทำได้ก็จะภาคภูมิใจกับเงินออมของตนที่ค่อย ๆ เพิ่มพูนขึ้นทีละน้อย
3. แม้เงินนิดเดียวก็ออมได้
อย่าท้อใจว่ามีเงินน้อย เพราะหากคุณมีเงินเพียงหนึ่งบาท ก็สามารถออมได้ ถ้าตั้งใจจริงและรู้จักใช้ รู้จักเก็บ ไม่นานเงินเพียงหนึ่งบาทก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นหลักร้อยหลักพันในที่สุด
4. ค่อยเป็นค่อยไปอย่าใจร้อน
การออมเงินก็เหมือน การปลูกต้นไม้ จะให้โตภายในข้ามคืนคงเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าหมั่นรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ต้นกล้าที่เราเฝ้าเอาใจใส่ก็จะค่อย ๆ เติบโตจนออกผลให้เราเก็บกินได้อย่างภาคภูมิใจ
5. ยิ่งออมก่อน ยิ่งได้เปรียบ
การออมเงินเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยระยะเวลา ดังนั้นเมื่อใครเริ่มออมได้ไว ยิ่งนานเท่าไร เงินออมที่เก็บไว้ยิ่งทวีค่าขึ้นตามระยะเวลา ดังนั้นเราควรเริ่มฝึกนิสัยให้รักการออมเสียตั้งแต่วันนี้ อย่าผลัดวันประกันพรุ่งยิ่งออมไวยิ่งได้เปรียบ
ลองตอบคำถามดังต่อไปนี้ เพื่อตรวจสอบนิสัยการใช้จ่ายเงินของคุณ และเพื่อช่วยให้คุณทราบสถานะการเงินของคุณว่า กำลังตกอยู่ในสถานการณ์เช่นใด ปลอดภัยดี หรือว่าอยู่ในขั้นอันตราย ที่คุณจะต้องควบคุมการใช้จ่ายของคุณอย่างเร่งด่วน

                             สัญญาณ 14 ข้อเตือนว่าคุณกำลังจะเป็นหนี้
-คุณสามารถชำระเงินคืนบัตรเครดิตการ์ดได้เพียงจำนวนต่ำสุดเท่าที่ระบุเท่านั้นเอง ใช่หรือไม่
-คุณไม่แน่ใจว่าคุณเป็นหนี้ทั้งหมดอยู่เท่าไหร่
-คุณชำระเงินค่าใช้จ่ายประจำเดือนต่างๆ สายเสมอ
-บางครั้ง คุณจำเป็นต้องข้ามการชำระเงินให้กับเจ้าหนี้รายหนึ่งก่อน เพื่อนำเงินไปชำระให้กับเจ้าหนี้อีกราย
-คุณมีเงินสำรองยามฉุกเฉินไม่เพียงพอ
-ถ้าคุณตกงานในเวลานี้ คุณสามารถชำระเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำรงชีพได้หรือไม่
-คุณได้รับโทรศัพท์หรือจดหมายเตือนให้ชำระเงินจากเจ้าหนี้เสมอ ใช่หรือไม่
-บัตรเครดิตการ์ดของคุณใกล้จะเต็มจำนวนวงเงินเครดิตแล้ว
-คุณยืมเงินจากเครดิตใบหนึ่งเพื่อนำไปชำระให้กับเครดิตการ์ดอีกใบ ใช่หรือไม่
-คุณเริ่มสัปดาห์ใหม่ด้วยเงินเต็มกระเปำสตางค์ และตอนปลายสัปดาห์เงินคุณหมด โดยคุณเองก็ไม่ทราบว่าหายไปไหน คุณจ่ายอะไรไปบ้าง ใช่หรือไม่
-บ่อยครั้งที่คุณเสียเงินซื้อของเพียงเพราะว่าคุณอยากซื้อเท่านั้น โดยไม่สนใจว่าจำเป็นหรือไม่
-คุณเคยถอนเงินออมยามเกษียณมาชำระค่าใช้จ่ายต่างๆในปัจจุบัน
-บางครั้งคุณต้องเลื่อนการไปหาหมอ หรือไปทำฟันเพราะว่าคุณไม่มีเงินชำระค่ารักษาพยาบาล
-คุณกำลังใช้จ่ายเงินจำนวนมากกว่าที่คุณหาได้ และ/หรือคุณไม่มีเงินเก็บ

ถ้าคุณตอบ ใช่ แม้แต่ข้อเดียวในคำถามเหล่านี้ คุณจำเป็นจะต้องควบคุมและ ระมัดระวังในการใช้จ่ายของคุณเสียแล้วล่ะ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น